หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน


1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร

ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ
ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งมีหลายลักษณะ

เป็นไปด้วยความเสมอภาค หมายถึงทุกครั้งเมื่อสังคมวุ่นวาย คนในสังคมไม่รับความยุติธรรม ย่อมจะต้องมีการตัดสินคดีความต่างๆ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินที่มีใจเป็นธรรมย่อมจะต้องนึกถึงความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมจะพึงได้รับก่อนเสมอ ซึ่งในเรื่องของความยุติธรรมนั้น ถ้าพบว่ากฎหมายในตอนใดเรื่องใดยังบกพร่อง ผู้มีอำนาจในการตัดสินความนั้นย่อมใช้ดุลยพินิจปรับให้ถูกต้องตามแบบแผนของกฎหมาย หรือกฎธรรมชาติให้มากที่สุด การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในสังคมได้เสมอ

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ

เห็นด้วยที่ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะกฏหมายมีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิดในกฎหมาย เช่น ข้าราชการที่ทำผิดวินัย อาจถูกตัดเงินเดือน สั่งพักราชการ ให้ออกปลดออกหรือไล่ออก เป็นต้น
ใบอนุญาตหมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัติ

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนหรือร่วมมือกับชุมชน

เช่น ถ้าโรงเรียนมีวงดนตรีไทยก็อาจจะจัดแสดงดนตรีไทยและมีกล่องขอรับบริจาคเงินสมทบทุนซื้อเครื่องดนตรีไทย
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับ

ประกอบด้วยอะไรบ้าง

มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ

การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

การศึกษาในระบบ 6-3-3 หมายความว่ามีการจัดระบบ
1.การศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น)

2.การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)
3.และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ

การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการศึกษาภาคบังคับนั้นต่างจากการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้
ประชาชนต้องเข้าเรียน แต่เป็นสิทธิ ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียน
ถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือจะกำหนด 9 ปีตั้งแต่เมื่อไหร่ก็คงจะหนีไม่พ้นตั้งแต่
ประถมศึกษาปีที่ 1 หรือจะเรียกชื่ออย่างอื่นก็ได้ และคงบังคับเรียนจนถึงมัธยมศึกษา
ตอนต้นตามระบบเดิม
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
มีการกำหนดองค์กรหลัก 4 องค์กรกระดับกระทรวงฯ ในการกำหนดนโยบาย และกำกับ ได้แก่
1. สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อเสนอนโยบายและแผนรวมของ
การศึกษาทั้งระบบ ตลอดจนศิลปะ วัฒนธรรม และศาสนา ของ 3 องค์กรที่เหลือในมาตรา
34 โดยทั้ง 4 องค์กรมีความเป็นอิสระซึ่งกันและกัน ภายใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการ
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติประกอบด้วย รัฐมนตรีเป็นประธาน
กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เลขาธิการสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เลขาธิการสำนักงานอุดมศึกษา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะมี
ตัวแทนขององค์กรเอกชน เช่น ผู้แทนของสมาคมนายจ้าง ผู้แทนของสมาคมนายจ้าง
ผู้แทนของสหภาพแรงงาน ผู้แทนของสมาคมโรงเรียนเอกชน ผู้แทนขององค์ปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เช่น องค์กรบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ เช่น สมาพันธ์ครูประถม
ศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีจำนวนไม่น้อยกว่าประเภทอื่นๆ รวมกัน


7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
เพื่อให้ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวง มีอำนาจหน้าที่กำหนด มาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหาร
การศึกษา


8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ถ้าไปสอนเป็นครั้งคราวไม่ผิด  เพราะสถานศึกษาอาจจะจ้างสอนเป็นครั้งคราว

ผิดถ้าไปสอนเป็นประจำจะต้องได้รับอนุญาตจากคุรุสภาเท่านั้นหรือจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเท่านั้น

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
วินัย คือ กฏหมาย กฏ ข้อบังคับ ระเบียบ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ

โทษทางวินัยมี 5 สถาน
(1) ภาคทัณฑ์

(2) ตัดเงินเดือน

(3) ลดขั้นเงินเดือน

(4) ปลดออก

(5) ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน

เด็กเร่ร่อนหมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่

เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มี

พฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน

เด็กกำพร้าหมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดา

มารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้

เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบากหมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือ

บิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับ

ภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถ

ช่วยเหลือตัวเองได้

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดหมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่

ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อ

ศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย ทั้งนี้ ตามที่

กำหนดในกฎกระทรวง

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น